12 ส.ค. 2555

ทฤษฎีพหุปัญญา

    พหุปัญญาทั้ง 9 ด้าน ของ Howard Gardner

พหุปัญญา ของ Howard Gardner

Howard Gardner

"ไม่มีสมองใครถูกออกแบบมาให้..โง่"

ปัญญาทั้ง ๘ ด้านมีอยู่ในเราทุกคน แต่คนเราจะมีด้านที่เด่นบางด้าน ในขณะที่บางด้านด้อยกว่า แต่สามารถพัฒนาได้ดั่งเช่นที่ทฤษฎีการเรียนรู้ของ Howard Gardner เสนอให้พัฒนาปัญญาทั้ง ๘ ด้าน

สรุปแล้ว Multiple Intelligence แรกเริ่มโฮเวิร์ด การ์ดเนอร์ คิดไว้ 7 ด้านด้วยกัน ได้แก่
1. ความฉลาดทางด้านภาษา (Linguistic intelligence) ความสามารถในการเข้าใจความหมายและการใช้ภาษา การพูดและการเขียน การเรียนรู้ภาษา การใช้ภาษาสื่อสารให้ได้ผลตามเป้าหมาย สื่ออารมณ์ความรู้สึกให้คนอื่นเข้าใจได้ดี เช่น กวี นักเขียน นักพูด นักกฎหมาย

2. ความฉลาดทางด้านตรรกะ (Logical-mathematic intelligence)
ความสามารถทางด้านคณิตศาสตร์ และเรื่องของเหตุผล คิดวิเคราะห์ในเชิงวิทยาศาสตร์ เช่น นักวิทยาศาสตร์ นักคณิตศาสตร์

3. ความฉลาดทางด้านดนตรี (Musical intelligence)
ความสามารถในการเข้าใจและสร้างสรรค์ดนตรี เข้าใจจังหวะ เช่น นักแต่งเพลง นักดนตรี นักเต้น

4. ความฉลาดทางด้านมิติ (Spatial intelligence)
ความสามารถในการสร้างภาพในจินตนาการ และนำมาสร้างสรรค์เป็นผลงาน เช่น จิตรกร ประติมากร สถาปนิก ดีไซเนอร์

5. ความฉลาดทางด้านการเคลื่อนไหวร่างกาย (Bodily-kinesthetic intelligence) ความสามารถในการใช้ร่างกายเคลื่อนไหวอย่างสร้างสรรค์ เช่น นักเต้น นักกีฬา นักแสดง

6. ความฉลาดในการเป็นผู้นำ (Interpersonal intelligence) ความสามารถในการเข้าใจความรู้สึกนึกคิดของผู้อื่น สามารถจูงใจผู้อื่น
เช่น นักการเมือง ผู้นำทางศาสนา ครู นักการศึกษา นักขาย นักโฆษณา

7. ความฉลาดภายในตน (Intrapersonal intelligence) ความสามารถในการเข้าอกเข้าใจความรู้สึกภายในของผู้คน เช่น นักเขียน ผู้ให้คำปรึกษา จิตแพทย์

ต่อมาการ์ดเนอร์ ได้เพิ่มความฉลาดอีก 2 ด้านตามลำดับคือ

8. ความฉลาดทางด้านธรรมชาติ (Naturalist intelligence)
ความสามารถในการเรียนรู้เรื่องธรรมชาติ พืช สัตว์ ธรณีวิทยา สิ่งแวดล้อม

9. ความฉลาดในการคิดใคร่ครวญ (Existential intelligence)
ชอบคิด สงสัยใคร่รู้ ตั้งคำถามกับตัวเองในเรื่องความเป็นไปของชีวิต ชีวิตหลังความตาย เรื่องเหนือจริง มิติลึกลับ เช่น นักคิด อามิ อริสโตเติล ขงจื้อ ไอน์สไตน์ พลาโต โสเครติส ฯลฯ

การ์ดเนอร์เคยคิดจะนำ ความฉลาดทางด้านคุณธรรมจริยธรรม (Moral intelligence) เพิ่มเข้าไปด้วย

การ์ดเนอร์กล่าวว่า ความฉลาดหรือสติปัญญาทำให้คนเราเป็นมนุษย์ พูดได้ เราทุกคนต่างมีความฉลาด แม้เป็นสิ่งที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด แต่ก็สามารถยืดหยุ่นและพัฒนาได้ ขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อม

เขาแนะนำว่า พ่อแม่ ผู้ปกครอง และครู ควรจัดสิ่งแวดล้อมให้หลากหลายเพื่อสังเกตดูว่าอะไรคือ สิ่งที่เด็กชอบหรือถนัด ทำได้ดี แล้วจะรู้ว่าลูกหลานหรือนักเรียนของเราแต่ละคนมีความฉลาดทางด้านใด

การ์ดเนอร์กล่าวอีกว่า ความฉลาดไม่ได้มีด้านเดียวและบางครั้งใช้ความสามารถหลายๆ ด้านในเวลาเดียวกัน

แม้ทฤษฎี MI ของเขาจะไม่ได้รับการยอมรับในทันทีทันใด แต่ก็ได้รับความสนใจอย่างมาก จากนักการศึกษาและครูผู้บริหารจำนวนไม่น้อยนำ MI ไปใช้แก้ปัญหาในระบบการศึกษาในโรงเรียน โรงเรียนจำนวนหนึ่งในอเมริกาเหนือนำไปเป็นหลักในการวางหลักสูตร วางแผนการเรียนการสอน และกิจกรรมอื่นๆ สำหรับเด็กมีการใช้ทฤษฎี MI กับการเรียนหลากหลายระดับชั้น ทั้งในเด็กเล็กปฐมวัย เด็กโต และแม้แต่การศึกษาของผู้ใหญ่ การ์ดเนอร์บอกว่า “Multiple Intelligence จะทำให้เกิดการเรียนการสอนที่หลากหลาย แทนที่จะเป็นแบบเดียว (แบบในโรงเรียนทั่วไป) มีหลากหลายวิธีที่เด็กนักเรียนจะคิดและเรียนรู้ ครูเพียงแต่มีกรอบคอนเซปต์คร่าวๆ ในการจัดการเรียนการสอน”

แม้โฮเวิร์ด การ์ดเนอร์ จะออกตัวว่า ทฤษฎี Multiple Intelligence
ของเขาไม่ใช่คำตอบของการศึกษาทั้งหมด แต่เขาเอ่ยคำที่น่าคิดว่า ...

” Character is more important than intellect."

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น