25 ก.ค. 2555

พฤติกรรมมนุษย์ - ปัจจัยพื้นฐานด้านจิตวิทยา

ปัจจัยสำคัญอีกปัจจัยหนึ่งซึ่งมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมมนุษย์ ได้แก่ ปัจจัยทางจิตวิทยา ซึ่งมีปัจจัยย่อยอยู่หลายปัจจัย ปัจจัยทางจิตวิทยา จะทำหน้าที่ เป็นสื่อกลางในการรับรู้และตีความสิ่งเร้าก่อนที่ร่างกายจะแสดงพฤติกรรมต่าง ๆ ปัจจัยทางจิตวิทยาที่สำคัญ ประกอบด้วย แรงจูงใจและ การเรียนรู้
1. แรงจูงใจ
1.1 ความหมาย ประเภทและปัจจัย
แรงผลักดันจากภายในที่ทำให้ให้มนุษย์เกิดพฤติกรรมตอบสนองอย่างมีทิศทางและ เป้าหมาย เรียกว่า แรงจูงใจ คนที่มีแรงจูงใจ ที่จะทำ พฤติกรรมหนึ่งสูงกว่า จะใช้ความพยายามนำ การกระทำไปสู่เป้าหมายสูงกว่า คนที่มีแรงจูงใจต่ำกว่า แรงจูงใจของมนุษย์จำแนกได้เป็น 2 ประเภทหลัก ประเภทแรก ได้แก่ แรงจูงใจทางกาย ที่ทำให้มนุษย์แสดงพฤติกรรมสนองความต้องการ ที่จำเป็นทางกาย เช่น หาน้ำ และอาหารมา ดื่มกิน เมื่อกระหายและหิว ประเภทที่สอง ได้แก่ แรงจูงใจทางจิตซึ่งเกี่ยวข้องกับ ความต้องการทางสังคม เช่น ความต้องการความสำเร็จ เงิน คำชมอำนาจ กลุ่มและพวก เป็นต้น ปัจจัยที่ทำให้เกิดแรงจูงใจในมนุษย์ ประกอบด้วย


1.1.1 ปัจจัยทางชีวภาพ ได้แก่ ความต้องการจำเป็นของชีวิต คือ อาหาร น้ำ ความปลอดภัย
1.1.2 ปัจจัยทางอารมณ์ เช่น ความตื่นเต้น วิตกกังวล กลัว โกรธ รัก เกลียด และความรู้สึกอื่นใด ที่ให้คนมีพฤติกรรม ตั้งแต่เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่จนถึง การฆ่าผู้อื่น
1.1.3 ปัจจัยทางความคิด เป็นปัจจัยที่กำหนดให้บุคคลกระทำในเรื่องที่คิดว่า เหมาะสมและเป็นไปได้ และตามความคาดหวังว่า ผู้อื่นจะสนองตอบ การกระทำของตนอย่างไร
1.1.4 ปัจจัยทางสังคม เป็นปัจจัยที่กำหนดพฤติกรรมของมนุษย์ เพื่อให้สอดคล้องกับสังคม และเป็นที่ยอมรับ ของบุคคลในสังคมนั้นด้วย การกระทำของผู้อื่นและผลกรรมที่ได้รับจึงทำให้เกิดการเรียนรู้พฤติกรรมทางสังคม ซึ่งเป็นไปกฏระเบียบ และตัวแบบทางสังคม
1.2 ทฤษฎีแรงจูงใจ
นักจิตวิทยาได้พัฒนาทฤษฎีเพื่ออธิบายถึงแรงจูงใจของมนุษย์ เพื่อตอบคำถามเกี่ยวกับพฤติกรรมที่ปรากฏ แต่ละทฤษฎีมีจุดที่เป็น ความแนวคิด เกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ที่แตกต่างกันไป ที่สำคัญได้แก่ ทฤษฎีสัญชาติญาณ ทฤษฎีแรงขับ ทฤษฎีการตื่นตัว และทฤษฎีสิ่งล่อใจ
1.2.1 ทฤษฎีสัญชาติญาน (Instinct Theory)
สัญชาติญาน เป็น พฤติกรรมที่มนุษย์ แสดงออกโดยอัตโนมัติ ตามธรรมชาติของชีวิต เป็นความพร้อม ที่จะทำ พฤติกรรม ได้ในทันที เมื่อปรากฎ สิ่งเร้า เฉพาะต่อพฤติกรรมนั้น สัญชาติญาณ จึงมีความสำคัญต่อ ความอยู่รอด ของชีวิต ในสัตว์บางชนิด เช่นปลากัดตัวผู้จะแสดงการก้าวร้าว พร้อมต่อสู้ ทันทีที่เห็นตัวผู้ตัวอื่น สำหรับ ใน มนุษย์ สัญชาติญาณ อาจจะไม่แสดงออกมา อย่างชัดเจนในสัตว์ชั้นต่ำ แต่บุคคลสามารถรู้สึกได้ เช่น ความใกล้ชิด ระหว่าง ชายหญิง ทำให้เกิด ความต้องการทางเพศได้ พฤติกรรมนี้ไม่ต้องเรียนรู้ เป็นรูปแบบพฤติกรรมที่ตายตัว แน่นอน ซึ่งกำหนดมา ตามธรรมชาติจาก ปัจจัยทางชีวภาพ ในปัจจุบันการศึกษา สัญชาตญาน เป็นเพียงต้องการ ศึกษา ลักษณะ การตอบสนอง ขั้นพื้นฐาน เพื่อความเข้าใจ พฤติกรรม เบื้องต้นเท่านั้น
1.2.2 ทฤษฎีแรงขับ (Drive Reduction Theory)
แรงขับ (Drive) เป็นกลไกภายในที่รักษาระบบทางสรีระ ให้คงสภาพสมดุลในเรื่องต่าง ๆ ไว้ เพื่อทำให้ ร่างกายเป็น ปกติ หรืออยู่ในสภาพ โฮมิโอสแตซิส (Homeostasis) โดยการปรับระบบให้เข้ากับ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ทฤษฎีแรงขับอธิบายว่า เมื่อเสียสมดุลในระบบ โฮมิโอสแตซิส จะทำให้เกิดความต้องการ (Need) ขึ้น เป็นความต้องการทางชีวภาพเพื่อรักษาความคงอยู่ของชีวิต และความต้องการนี้ จะทำให้เกิด แรงขับ อีกต่อหนึ่ง
แรงขับเป็น สภาวะตื่นตัว ที่พร้อมจะทำอย่างใดอย่างหนึ่ง ให้กลับคืนสู่สภาพสมดุลเพื่อลดแรงขับนั้น (Drive Reduction) ตัวอย่างเช่น การขาดน้ำในร่างกาย จะทำให้เสียสมดุลทางเคมี ในเลือด เกิดความต้องการเพิ่มน้ำ ในร่างกาย แรงขับ ที่เกิดจากต้องการน้ำคือ ความกระหาย จูงใจให้เราดื่มน้ำหรือหาน้ำมาดื่ม หลังจากดื่มสม ความต้องการแล้ว แรงขับก็ลดลง กล่าวได้ว่า แรงขับผลักดันให้คนเรามีพฤติกรรม ตอบสนอง ความต้องการ เพื่อทำให้ แรงขับ ลดลงสำหรับที่ร่างกาย จะได้กลับสู่ สภาพสมดุล อีกครั้งหนึ่ง
แรงขับ แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ แรงขับปฐมภูมิ (Primary Drive) และ แรงขับทุติยภูมิ (Secondary Drive) แรงขับที่เกิดจาก ความต้องการพื้นฐานทางชีวภาพ เช่น ความต้องการอาหาร น้ำ ความต้องการและแรงขับประเภทนี้ เกิดขึ้นเองโดยไม่ต้องเรียนรู้ เป็นแรงขับ ประเภทปฐมภูมิ ส่วนแรงขับทุติยภูมิ เป็นแรงขับที่เกิดขึ้นจากการเรียนรู้ แรงขับประเภทนี้ เมื่อเกิดแล้วจะจูงใจคนให้กระทำสิ่งต่าง ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการอย่างไม่มีวันสิ้นสุด เช่น คนเรียนรู้ว่า เงินมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับการสนองความต้องการอาหาร ที่อยู่อาศัยและอื่น ๆ อีกมาก การไม่มีเงิน จึงเป็นแรงขับทุติยภูมิสามารถจูงใจให้คนกระทำพฤติกรรมต่าง ๆ เพื่อให้ได้เงินมาตั้งแต่การทำงานหนัก จนถึงการทำ สิ่งที่ผิดกฎหมาย เช่น การปล้นธนาคาร
1.2.3 ทฤษฎีการตื่นตัว (Arousal Theory)
มนุษย์ถูกจูงใจให้กระทำพฤติกรรมบางอย่าง เพื่อรักษาระดับการตื่นตัวที่พอเหมาะ (Optimal level of arousal) เมื่อมีระดับการตื่นตัวต่ำลง ก็จะถูกกระตุ้นให้เพิ่มขึ้น และเมื่อการตื่นตัวมีระดับสูงเกินไปก็จะถูกดึงให้ลดลง เช่น เมื่อรู้สึกเบื่อคน จะแสวงหาการกระทำที่ตื่นเต้น เมื่อตื่นเต้นเร้าใจมานานระยะหนึ่ง จะต้องการพักผ่อน เป็นต้น คนแต่ละคนจะมีระดับการตื่นตัวที่พอเหมาะแตกต่างกัน
การตื่นตัวคือ ระดับการทำงานที่เกิดขึ้นในหลาย ๆ ระบบของร่างกาย สามารถวัดระดับการทำงานนี้ได้จากคลื่นสมอง การเต้นของหัวใจ การเกร็งของกล้ามเนื้อ หรือจากสภาวะของอวัยวะต่าง ๆ ขณะที่หลับสนิทระดับการตื่นตัวจะต่ำที่สุด และสูงสุดเมื่อตกใจหรือตื่นเต้นสุดขีด การตื่นตัวเพิ่มขึ้นได้จากความหิว กระหายน้ำหรือแรงขับทางชีวภาพอื่น ๆ หรือจากสิ่งเร้าที่เข้มข้น รุนแรง เหตุการณ์ไม่คาดหวังไว้ก่อน หรือจากสารกระตุ้นในกาแฟ และยาบางชนิด
การทำงานจะที่มีประสิทธิภาพสูง เมื่อมีระดับการตื่นตัวปานกลาง ระดับการตื่นตัวที่สูงเกินไปจะรบกวนความใส่ใจ การรับรู้ การคิด สมาธิ กล้ามเนื้อทำงานประสานกันได้ยาก เมื่อระดับการตื่นตัวต่ำ คนเราทำงานที่ยากและมีรายละเอียดได้ดี แต่ถ้าเป็นงานที่ง่ายจะทำได้ดีเมื่อระดับ การตื่นตัวสูง คนที่มีระดับการตื่นตัวสูงเป็นนิสัย มักสูบบุหรี่ ดื่มสุรา กินอาหารรสจัด ฟังดนตรีเสียงดัง มีความถี่เรื่องเพศสัมพันธ์ ชอบการเสี่ยงและลองเรื่องใหม่ ๆ ส่วนคนที่มีระดับการตื่นตัวต่ำเป็นปกติ มักมีพฤติกรรมที่ไม่เร้าใจมากนัก ไม่ชอบการเสี่ยง ความแตกต่างในระดับพอเหมาะของการตื่นตัว เกิดจากพื้นฐานทางชีวภาพเป็นเรื่องหลัก และทำให้มีบุคลิกภาพแตกต่างกันไปด้วย
1.2.4 ทฤษฎีสิ่งจูงใจ (Incentive Theory)
ปัจจัยภายนอกหรือสิ่งแวดล้อมที่จูงใจจะดึงดูดให้คนมุ่งไปหาสิ่งนั้น มนุษย์กระทำกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อแสวงหาสิ่งที่พอใจ (Positive Incentives) เช่น รางวัล คำยกย่อง สิทธิพิเศษ และหลีกเลี่ยงสิ่งที่ไม่พอใจ (Negative Incentives) เช่น ถูกลงโทษ ถูกตำหนิ ทำให้เจ็บกาย การที่คนมี พฤติกรรมแตกต่างกัน หรือพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไป ขึ้นอยู่กับความแตกต่างในคุณค่า (Values) ของสิ่งจูงใจ ถ้าคิดว่าการกระทำอย่างใด อย่างหนึ่ง จะได้รับผลคุ้มค่าก็จะมีแรงจูงใจให้บุคคลกระทำอย่างนั้น

11 ก.ค. 2555

แบบทดสอบจิตวิทยา 8 ข้อ บอกความเป็นคุณ

วิธีทำแบบทดสอบจิตวิทยา อ่านคำถามแล้วเขียนคำตอบไว้นะคะ ไม่ต้องคิดนาน ความคิดแรกของคุณจะพาคุณไปพบคำตอบที่ตรงที่สุด

1. ลองนึกถึงทะเล แล้วเลือกว่าทะเลในความคิดของคุณเป็นอย่างไร
ก. สีน้ำเงินเข้ม
ข. ใส สะอาด
ค. สีเขียว
ง. ขุ่น

2. คุณอยากอยู่ตรงไหนของภูเขา

3. คุณชอบรูปทรงใดมากที่สุด
ก. ทรงกลม
ข. สี่เหลี่ยมจตุรัส
ค. สามเหลี่ยม

4. คุณอยากให้รูปทรงดังกล่าวมีขนาดเท่าไหร่
ก. เล็กมาก
ข. เล็ก
ค. ปานกลาง
ง. ใหญ่
จ. ใหญ่มาก

5. และมันถูกสร้างขึ้นมาจาก
ก. ไม้
ข. กระจก/แก้ว
ค. เพชร
ง. เหล็ก/โลหะ

6. จินตนาการถึงม้า ม้าในความคิดของคุณจะมีสี
ก. น้ำตาล
ข. ดำ
ค. ขาว

7. คุณเดินอยู่บนระเบียงและเห็นประตูสองบาน เพียงคุณก้าวต่อไปทางซ้ายอีกสี่ห้าก้าวก็จะถึงประตูบานที่หนึ่ง ส่วนประตูอีกบานนั้น คุณจะต้องเดินไปจนสุดทางระเบียง ถ้าประตูทั้งสองบานถูกเปิดทิ้งไว้ และมีกุญแจดอกหนึ่งวางอยู่ตรงหน้า คุณจะเก็บกุญแจขึ้นมาหรือไม่
ก. เก็บ
ข. ไม่เก็บ

8. ถ้าหากว่าพายุกำลังเข้ามาใกล้ คุณจะเลือก
ก. ม้า
ข. บ้าน

.
.

.

.

.

.

.

.

.




ผลการวิเคราะห์ แบบทดสอบจิตวิทยา 8 ข้อบอกความเป็นคุณ


1. สีของน้ำทะเล แสดงถึงบุคลิกภาพของคุณ
ก. สีน้ำเงินเข้ม - คุณมีบุคลิกภาพที่ซับซ้อนเข้าใจยาก
ข. ใส สะอาด - คุณเป็นคนเปิดเผย เข้าใจง่าย
ค. สีเขียว - คุณเป็นคนง่ายๆ สบายๆ ไม่ค่อยเครียด
ง. ขุ่น - คุณเป็นคนสับสนในตัวเอง


2. ความสูงของภูเขาเป็นตัวแทนความทะเยอทะยานในชีวิตของคุณ

3. รูปทรง แสดงถึงลักษณะนิสัยของคุณ
ก. ทรงกลม - คุณพยายามเอาอกเอาใจทุกๆ คน
ข. สี่เหลี่ยมจัตุรัส - คุณเป็นคนหัวแข็ง และเอาแต่ใจตัวเอง
ค. สามเหลี่ยม - คุณเป็นคนหัวดื้อ

4. ขนาดของรูปทรง แสดงถึงขนาดที่คุณมีลักษณะนิสัยดังกล่าว

5. วัสดุที่ใช้สร้างรูปทรง แสดงถึงบุคลิกของคุณ
ก. ไม้ - รักความสงบ
ข. กระจก/แก้ว - เปราะบาง
ค. เพชร - ดื้อรั้น
ง. เหล็ก/โลหะ - เข้มแข็ง แต่ไม่ค่อยยืดหยุ่น

6. สีของม้า แสดงถึงบุคลิกของคุณอีกเช่นกัน
ก. น้ำตาล - ติดดิน
ข. ดำ - ไม่แน่นอน มีอารมณ์ที่รุนแรง การอยู่ร่วมกับคุณมักมีเรื่องให้น่าตื่นเต้นอยู่เสมอ
ค. ขาว - หยิ่ง แต่น่าประทับใจ

7. การเก็บลูกกุญแจ แสดงถึงการฉวยโอกาส
ก. เก็บ - คุณรู้จักฉกฉวยโอกาสที่เป็นประโยชน์
ข. ไม่เก็บ - คุณไม่ใช่คนชอบฉวยโอกาส

8. ที่พึ่งในยามที่มีพายุ แสดงถึง คนที่คุณมักจะนึกถึงเสมอเวลามีปัญหา
ก. ม้า - สามีหรือภรรยาของคุณ
ข. บ้าน - เพื่อนสนิทที่รู้ใจ

โรคจิต

องค์การอนามัยโลกได้ประกาศปรับปรุงแก้ไขการจำแนกประเภทของความผิดปกติทางจิตใจ กล่าวโดยย่อแบ่งความผิดปกติทางจิตใจ ออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ๆ คือ 

โรคจิต 
เป็นความผิดปกติของจิตใจซึ่งการทำงานของจิตใจเสียหน้าที่ไปอย่างเห็นได้ชัดเจน จนทำให้บุคคลนั้นไม่สามารถดำเนินชีวิตอย่างปกติ ประกอบด้วยอาการทั่วไป 3 ประการ คือ 
1) บุคลิกภาพเดิมของผู้ป่วยเปลี่ยนไป 
2) ไม่อยู่ในโลกของความเป็นจริง เช่น มีอาการประสาทหลอน ได้ยินเสียงคนด่าตลอดเวลา ทั้งๆ ที่ในขณะนั้นไม่มีใครด่าเขาเลย หลงผิดว่ามีคนคิดร้ายและกำลังตามฆ่าเขา 
3) ไม่รู้สภาวะตนเอง

ประสาท 
โรคประสาทเป็นความผิดปกติ หรือความแปรปรวนทางจิตใจ อาการต่างๆ ที่ปรากฏคือ กังวล ย้ำคิด ย้ำทำ เหนื่อยง่าย ฯลฯ อาการเหล่านี้ไม่ทำให้ผู้ป่วยสูญเสียความสามารถในการทำงานหรือการเข้าสังคมอย่างเห็นได้ชัดเจน ส่วนมากจะหยั่งเห็นสภาพของตนหรือรู้สภาวะของตนเอง รู้ว่าไม่สบายใจ หงุดหงิด และกลุ้มใจต้องการให้แพทย์หรือคนอื่นช่วยเหลือ 


ปัญญาอ่อน 
ปัญญาอ่อน หมายถึง การมีระดับสติปัญญาต่ำกว่าปกติ ระดับเชาน์ปัญญาแบ่งออกดังนี้ 

ปัญญาอ่อนระดับน้อย (moron) ไอคิว (I.Q.) 50 - 30 
ปัญญาอ่อนปานกลาง (imbecile) ไอคิว (I.Q.) 35 - 49 
ปัญญาอ่อนมาก (fevere) ไอคิว (I.Q.) 20 - 34 
ปัญญาอ่อนรุนแรง (idiocy) ไอคิว (I.Q.) ต่ำกว่า 0 - 20

อาหารกับสุขภาพจิต

คุณเป็นคนหนึ่งหรือไม่ ที่รู้สึกว่าหลังตื่นนอนตอนเช้า อารมณ์ไม่แจ่มใสอย่างที่ควรเป็น (ไม่นับอาการเบื่อเรียนหรือเบื่องาน) ทั้งๆ ที่นอนหลับเต็มอิ่ม ไม่เครียดหรือมีเรื่องทุกข์ร้อนใจ บางครั้งรับประทานอาหารเช้าแล้วกลับทำให้ยิ่งหิวเร็ว หนำซ้ำช่วงสายก่อนเที่ยงมีอาการมือสั่น อ่อนเพลีย หรือบ่ายๆ หลังรับประทานอาหารกลางวัน ยิ่งอ่อนเพลีย ง่วงนอน เฉื่อยชายิ่งกว่าเดิม อาการแบบนี้มีสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการรับประทานอาหาร ซึ่งอาหารกับอารมณ์นั้น เกี่ยวข้องกันชนิดที่คุณคาดไม่ถึงทีเดียว แหล่งต้นเหตุของอาหารที่มีผลต่ออารมณ์
ในต่างประเทศมีงานวิจัยและบทความทางวิชาการศึกษา เกี่ยวกับบทบาทสารอาหารกับอารมณ์อยู่มากมายหลายชิ้น แต่บทความที่ได้รับรองอย่างเป็นทางการยังมีเพียงเล็กน้อย แต่ที่แน่ๆ ปัจจัยในร่างกายที่มีผลต่ออารมณ์ มาจาก 2 แหล่ง คือ อาหารและสารเคมีในสมอง

เริ่มจากอาหาร ที่ปกติเรารับประทาน 3 มื้อต่อวัน แต่ละมื้อประกอบด้วยอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต คือ แป้งและน้ำตาลเป็นหลัก เนื่องจากเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญของร่างกาย หลังจากรับประทานแล้ว ร่างกายจะค่อยๆ ย่อย เปลี่ยนให้เป็นคาร์โบไฮเดรตที่เล็กลง และกลายเป็นน้ำตาลกลูโคส เพื่อร่างกายสามารถดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด และนำไปใช้ตามอวัยวะต่างๆ ทั้งนี้ปริมาณและชนิดของคาร์โบไฮเดรตที่ต่างกัน ย่อมส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงต่างกัน เช่นเดียวกับระดับน้ำตาลกลูโคสที่ได้จากอาหารแต่ละชนิด หรือที่เราเรียกว่าดัชนีน้ำตาลค่าดัชนีน้ำตาลแบ่งเป็น 3 ระดับ คืออาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ อาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลปานกลาง และอาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลสูง
การรับประทานอาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลสูงมากเท่าไร

คาร์โบไฮเดรตก็จะย่อยเป็นกลูโคส และถูกดูดซึมอย่างรวดเร็ว กระตุ้นให้มีการหลั่งฮอร์โมนอินซูลิน ที่นำกลูโคสเข้าสู่เซลล์ต่างๆ เพื่อ
เผาผลาญเป็นพลังงาน แต่หลังจากรับประทานไปได้ 2-4 ชั่วโมง ระดับน้ำตาลในเลือดจะลดลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ร่างกาย
อ่อนแรง อารมณ์เซื่องซึม ตัวอย่างอาหารดัชนีน้ำตาลสูง ได้แก่ ไอศกรีม ข้าวขาว ข้าวเหนียว มันฝรั่งบด ฯลฯ นอกจากนี้ระดับน้ำตาลในเลือดอาจแปรปรวน ลดและเพิ่มอย่างรวดเร็วจากกรณีอื่นๆ อีก เช่น
     รับประทานอาหารที่มีไขมันสูง อาหารประเภททอด ขนมขบเคี้ยวต่างๆ น้ำอัดลม เป็นต้น เพราะหลังจากรับประทานร่างกายจะรู้สึกหนัก อ่อนเพลียและง่วง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังอาหารเช้าและอาหารกลางวัน ที่คนทำงานหลายคนมีอาการตาหนัก ลืมไม่ขึ้นเป็นประจำ
     เว้นระยะเวลาการรับประทานอาหารระหว่างมื้อนานเกินไป หรือออกกำลังกายติดต่อกันเป็นเวลานาน ทำให้เกิดสัญญาณเตือน เช่น อาการปวดหัวหรือเหนื่อยล้า มือสั่น เหงื่อแตก
     ไม่รับประทานอาหารเช้า หรือใช้วิธีลดความอ้วนด้วยการงดอาหารบางมื้อ ซึ่งเป็นวิธีที่ผิด เพราะจะยิ่งทำให้ร่างกายต้องการพลังงานชดเชยมากขึ้นจากมื้อที่หายไป ส่งผลให้มื้อต่อๆ ไปรับประทานมากเกินได้ง่าย ส่วนปัจจัยที่มีผลต่ออารมณ์
ส่วนหนึ่งมาจากสารเคมีในสมอง ยกตัวอย่างเช่น
     เซอร์โรโทนิน (serotonin) ถ้าระดับเซอร์โรโทนินต่ำจะทำให้เกิดอาการซึมเศร้าได้ และมีการศึกษาพบว่า หากได้รับอาหารที่ไม่มีกรดอะมิโนทริบโทเฟน (Tryptophan) โดยอาหารที่มีทริบโทเฟน เช่น นม กล้วย โยเกิร์ต ข้าวโอ๊ต ซึ่งเป็นสารเริ่มต้นในการสังเคราะห์ เซอร์โรโทนินในสมอง จะทำให้การสร้างเซอร์โรโทนินลดลง ส่งผลกระทบต่ออารมณ์ในบางคน แต่ก็ไม่ใช่ทุกคน การรับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูง เช่น ข้าวเหนียว ข้าวโพด กรอย เผือกหรือมัน จะเพิ่มการสร้างเซอร์โรโทนินทำให้อารมณ์ดีขึ้น ซึ่งจะพบว่าคนบางคนเมื่อมีอาการซึมเศร้า จะอยากรับประทานอาหารคาร์โบไฮเดรตมากขึ้น (เศร้าแล้วก็เลยอ้วน)
     การขาดกรดโฟลิก จากการศึกษาในหนูทดลอง เมื่อขาดกรดโฟลิก ทำให้ระดับเซอร์โรโทนินในสมองลดลง ซึ่งคาดว่าถ้ามนุษย์ขาดสารโฟลิกก็จะมีอารมณ์ซึมเศร้า ไม่กระตือรือร้น อาหารที่มีกรดโฟลิก ได้แก่ บร็อกโคลี ถั่วลิสง ข้าวซ้อมมือ
     การขาดไทอะมิน (วิตามินบี1) ทำให้ซึมเศร้า อ่อนเพลีย เนื่องจากวิตามินบี1 มีบทบาท สำคัญในการเผาผลาญกลูโคสให้เป็นพลังงาน และสมองจำเป็นต้องใช้พลังงานจากกลูโคส ถ้าขาดวิตามินบี1 ก็จะมีผลเหมือนการขาดคาร์โบไฮเดรต อาหารที่มีไทอะมิน ได้แก่ ปลา เนื้อสัตว์ปีก
     การขาดไนอะซิน ซึ่งเป็นวิตามินบีชนิดหนึ่ง ก็มีผลต่ออารมณ์เช่นกัน คนที่ขาดวิตามินไนอะซินจะหงุดหงิด อารมณ์เสีย ถ้าขาดมากๆ ก็อาจจะถึงขั้นความจำเสื่อม ไนอะซินเป็นวิตามินที่เกี่ยวข้องกับการเผาผลาญกลูโคสเช่นกัน การขาดไนอะซินนี้จะพบมากในกลุ่มคนที่รับประทานข้าวโพดเป็นอาหารหลัก ซึ่งในประเทศไทย ยังไม่พบการขาดวิตามินชนิดนี้ อาหารที่มีไนอะซิน ได้แก่ ไข่ เนื้อสัตว์ปีก ปลา ธัญพืชที่ไม่ขัดสี นม
รับประทานอาหารอย่างไรจึงทำให้อารมณ์ดีขึ้น

การปรับเปลี่ยนประเภทของอาหารเพียงเล็กน้อยก็สามารถส่งผลให้อารมณ์ดีขึ้นได้อย่างไม่น่าเชื่อ เพียงแค่คุณ...
     รับประทานอาหารให้ครบมื้อ ถ้าไม่มีเวลารับประทานอาหารเป็นมื้อแบบกิจลักษณะ ควรเลือกของว่างเล็กๆ น้อยๆ เช่น ขนมปังโฮลวีทสักแผ่นหรือ ขนมปังกรอบธัญพืชสัก 2-3 แผ่น อย่าปล่อยให้ท้องว่างเด็ดขาด หรือว่าจะแบ่งมื้ออาหารออกเป็นมื้อเล็กๆ แต่รับประทานบ่อยๆ เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำตาลในเลือดตก
     รับประทานอาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ เช่น ข้าวซ้อมมือ ข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีท ผักและผลไม้ที่มีเส้นใยมาก และมีรสไม่หวาน เป็นต้น เพราะร่างกายจะค่อยๆ ย่อยและดูดซึมช้าๆ ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดคงที่ สม่ำเสมอ และหลังรับประทานอาหารได้ 4-6 ชั่วโมง ร่างกายจะหลั่งสารฮอร์โมนบางชนิดเพื่อสลายไกลโคเจน ซึ่งเป็นคาร์โบไฮเดรตที่สะสมอยู่ในร่างกาย และเพิ่มการสร้างกลูโคสจากแหล่งอาหารอื่น เช่น ไขมัน
     งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ คาเฟอีน หันมาดื่มน้ำผลไม้คั้นสดหรือน้ำเปล่าธรรมดาแทน
     หมั่นออกกำลังกาย เนื่องจากหลังออกกำลังกายต่อเนื่องสัก 20 นาที ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนแอนโดรฟีนออกมาตามธรรมชาติ ทำให้ร่างกายสดชื่น กระปรี้ปกระเปร่าและมีความสุข ลดความกังวลและเครียดลงได้
สรุปแล้วความสัมพันธ์ระหว่างอาหารและอารมณ์นี้ ยังมีความซับซ้อนอยู่มาก จำเป็นต้องมีการศึกษาเพื่อหาข้อสรุปต่อไป แต่ปราการป้องกันขั้นพื้นฐานไม่ให้อารมณ์หม่นหมอง ง่วงซึม ทุกครั้งที่เกี่ยวข้องกับการรับประทานอาหาร ก็ควรรับประทานอาหารอย่างเหมาะสม ครบมื้อพอเพียงกับความต้องการของร่างกาย รับประทานอาหารหลากหลายให้ครบ 5 หมู่ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูงและมีค่าดัชนีน้ำตาลสูง ประกอบกับการออกกำลังกายสม่ำเสมอ รับรองว่าอาการเซื่องซึม ง่วงนอน อ่อนเพลียจะดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

อาการของผู้ป่วยโรคจิต

รหัส 3011 อาการของผู้ป่วยโรคจิต




ผู้ป่วยโรคจิตในระยะเริ่มแรกนั้นสังเกตได้ค่อนข้างยาก โดยส่วนใหญ่แล้วคนใกล้ชิดกว่าจะรู้ก็ต่อเมื่อมีอาการเป็นมากแล้ว ซึ่งอาการที่เรามักสังเกตเห็นนั้นอาจมีลักษณะดังนี้คือ

บุคลิกภาพหรือพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก และผิดปกติไปจากสังคมทั่วไป ซึ่งส่วนมากจะมีลักษณะประหลาดหรือไม่ถูกกาละเทศะ เช่น เคยเป็นคนสะอาดเรียบร้อยก็กลายเป็นคนสกปรกมอมแมม คนที่เคยสุภาพกลายเป็นคนหยาบคาย ทะลึ่งตึงตัง หรือร้องรำทำเพลงตามถนน หนทาง พูดเพ้อเจ้อไม่ได้เรื่องราว เป็นต้น

ในด้านความคิด ผู้ป่วยโรคจิตบางคนจะคิดหรือเห็นในสิ่งที่ไม่เป็นความจริง เช่น หลงผิดคิดว่าตนเองเป็นผู้วิเศษ หรือคิดว่าจะมีคนทำร้ายทั้ง ๆ ที่จริง ๆ แล้วไม่มี บางคนจะรับรู้ หรือมีสัมผัสสิ่งที่ไม่มีอยู่จริงเช่น หูแว่ว ได้ยินเสียงคนมาพูด บางรายมีภาพหลอนโดยเห็นภาพต่าง ๆ ไปเอง

ในด้านอารมณ์ ผู้ป่วยโรคจิตจะมีอารมณ์เปลี่ยนแปลงไปได้มาก เช่น แสดงอารมณ์ ไม่สอดคล้องกับความนึกคิด หรือสภาพแวดล้อม เมื่อพูดเรื่องเศร้าเช่น แม่ตายกลับแสดงอาการหัวเราะชอบใจ หรือมีอาการเหมือนทองไม่รู้ร้อน

ถ้าคนในครอบครัวหรือคนใกล้ชิดป่วยเป็นโรคจิต และได้รับการรักษาแล้ว กลับไปบ้าน คุณสามารถสังเกตอาการที่กลับเป็นซ้ำได้ โดยมีอาการเตือนที่พบได้บ่อย ๆ เช่น รู้สึกตึงเครียด กระวนกระวาย ซึมเศร้า นอนไม่หลับ กระสับกระส่าย ขาดสมาธิ เบื่อหน่าย ไม่มีความสุข เบื่ออาหาร กินได้น้อย ความจำไม่ดี ย้ำคิดย้ำทำ ไม่อยากพบปะผู้คน รู้สึกว่าถูกคนอื่นนินทาว่าร้าย ไม่สนใจสิ่งรอบ ๆ ตัว มีอาการหูแว่ว เห็นภาพหลอน รู้สึกไร้ค่า คิดฟุ้งซ่าน เป็นต้น

ดังนั้นหากสงสัยว่าญาติหรือคนในครอบครัวมีอาการเตือนดังกล่าว ให้รีบพาผู้ป่วย มารับการรักษาที่โรงพยาบาลจิตเวชใกล้บ้าน อย่าเพิ่งท้อแท้ใจ หรือจะโทรศัพท์มาปรึกษาเราได้ที่ หมายเลข 02-526-3342 ตลอด 24 ชั่วโมง
โดตคุณหญิงขวัญทิพย์ สุขมากนักจิตวิทยา8โรงพยาบาลศรีธัญญา

จิตวิทยาน่ารู้

แอลดี...ความบกพร่องในการเรียนรู้ L.D. - Learning Disabilities  แอล . ดี . (L.D. - Learning Disabilities) ในวงการศึกษาให้คำจำกัดความว่า “ความบกพร่องของกระบวนการทางจิตวิทยาขั้นพื้นฐาน (Basic Psychological Process) ที่เกี่ยวข้องกับการเข้าใจ การใช้ภาษา การพูด หรือการเขียน ซึ่งแสดงออกโดยความไม่สมบูรณ์ของความสามารถด้านการฟัง การคิด การพูด การอ่าน การเขียน การสะกดคำ และการคำนวณทางคณิตศาสตร์”
              ความ หมายครอบคลุมไปถึง ข้อจำกัดในการรับรู้ (perceptual handicaps) การบาดเจ็บทางสมอง (brain injury) ความผิดปกติเล็กน้อยในการทำงานของสมอง (minimal brain dysfunction) ดิสเล็กเซีย (dyslexia) และ อะเฟเซีย (developmental aphasia) แต่ไม่ครอบคลุมในกลุ่มที่เป็นผลของความพิการทางตา หู หรือการเคลื่อนไหว ความบกพร่องทางสติปัญญา ปัญหาทางอารมณ์ หรือเกิดจากความเสียเปรียบทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม หรือสิ่งแวดล้อม
              ใน วงการแพทย์ ใช้การวินิจฉัยเป็น Learning Disorder (ตามเกณฑ์ของสมาคมจิตแพทย์อเมริกัน DSM-IV) หรือ Specific Developmental Disorder of Scholastic Skills (ตามเกณฑ์ขององค์การอนามัยโลก ICD-10) คือ มีทักษะเฉพาะด้านที่ใช้ในการเรียน ด้านการอ่าน การเขียน หรือการคำนวณ ไม่เหมาะสมกับอายุจริง ระดับสติปัญญา และระดับการศึกษา โดยไม่ได้เกิดจากความผิดปกติทางร่างกายและระบบประสาท ความบกพร่องของพัฒนาการแบบรอบด้าน ความบกพร่องทางสติปัญญา หรือขาดโอกาสทางการศึกษา ส่งผลรบกวนต่อผลการศึกษาหรือกิจกรรมในชีวิต ประจำวัน ที่ต้องอาศัยการอ่าน การเขียน หรือการคำนวณ ลักษณะอาการ
ความบกพร่องในการเรียนรู้แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มหลัก คือ
             1. ความบกพร่องด้านการอ่าน (Reading Disorder) อ่าน หนังสือไม่ออกเลย หรืออ่านหนังสือได้ไม่เหมาะสมตามวัย เช่น สะกดไม่ถูก อ่านตกหล่น อ่านทีละตัวอักษรได้แต่ผสมคำไม่ได้ แยกแยะพยัญชนะที่คล้ายกันไม่ออก (ก - ถ - ภ) ทั้งๆที่เด็กดูมีความ ฉลาด รอบรู้ในด้านอื่นๆ ถ้ามีใครเล่าเรื่องให้ฟังจะเข้าใจดี เรียนรู้จากการเห็นภาพ และการฟัง จะทำได้ดี แต่ถ้าให้อ่านเองจะไม่ค่อยรู้เรื่อง จับใจความไม่ได้
            2. ความบกพร่องด้านการเขียน (Disorder of Written Expression) มี ปัญหาในด้านการเขียนหนังสือ ตั้งแต่เขียนหนังสือไม่ได้ทั้งๆที่รู้ว่าอยากจะเขียนอะไร เขียนตกหล่น สลับตำแหน่ง หรือผิดตำแหน่ง เขียนไม่เป็นประโยคที่สมบูรณ์ ใช้คำเชื่อมไม่ถูกต้อง เว้นวรรคตอนหรือย่อหน้าไม่ถูกต้อง จนทำให้ผู้อ่านไม่สามารถเข้าใจความหมายที่ผู้เขียนต้องการสื่อได้ถูกต้อง
            3. ความบกพร่องด้านการคำนวณ (Mathematics Disorder) มี ปัญหาในด้านการคำนวณ ตามระดับความรุนแรง หลากหลายรูปแบบ เช่น มีความสับสนเกี่ยวกับเรื่องตัวเลข ไม่เข้าใจเรื่อง การบวก ลบ คูณ หาร ไม่สามารถแปลโจทย์ปัญหาเป็นสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ มีการคำนวณที่ผิดพลาด ตกหล่นเกี่ยวกับเรื่องตัวเลขเป็นประจำ